วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การศึกษาไทย


 
การศึกษาของเด็กไทย

 การศึกษาของเด็กไทยเริ่มต้นจากสถาบัน ครอบครัว คือ บ้าน ถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกของเด็ก เป็นที่ที่เด็กได้
 รับความรักและความรู้ตั้งแต่ยังแบเบาะ    พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ปู่ย่าตายายเปรียบเสมือน ครู คนแรก    ที่เป็นผู้เลี้ยงดู
 อบรมสั่งสอน หุงหาอาหาร ปกป้องคุ้มภัย และพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปหาหมอ  

 เมื่อเด็กเล็กเดินได้ พูดจาพอรู้เรื่อง อายุครบ ๓ ขวบ ก็ถึงเกณฑ์เข้ารับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ถือเป็นหน้าที่ของพ่อแม่
 ผู้ปกครองที่จะพาเด็กเข้าเรียน ชั้นอนุบาล      การ เรียนอนุบาลหรือเตรียมอนุบาลเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเล็กก่อนเรียน ชั้นประถมศึกษา เด็กจะได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะทักษะการใช้มือ     ความมีระเบียบวินัย  
 การอยู่ร่วมกับผู้อื่น  การพูดจาไพเราะ การไหว้  การกล่าวคำสวัสดี ขอโทษ และขอบคุณ   ฝึกรับประทานอาหารเอง รู้จัก
 สุขอนามัยที่ดี  ฝึกทักษะมือทำงานศิลปะ เช่น ระบายสี วาดรูป  ได้ออกกำลังกาย ร้องรำทำเพลง  ไปจนถึงฝึกเขียนอักษร
 และพยัญชนะไทย และตัวเลข การเรียนชั้นอนุบาลนี้ใช้เวลา ปี   
        ต่อจากนั้นเด็กจะเข้าเรียน ประถมศึกษา โดยใช้เวลาเรียน ๖ ปี เพื่อศึกษาหาความรู้หมวดวิชาต่างๆ  ซึ่งเป็นหลักสูตร
 มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สปช.) วิชาสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สสน.)
 การงานพื้นฐานอาชีพ (กพอ.) วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  และภาษาไทย  เด็กๆ จะได้ความรู้รอบตัว  เปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นและแสดงออก เห็นวี่แววความถนัดพิเศษในบางวิชาของเด็ก 

      เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วเด็กๆ จะเข้าเรียนต่อในระดับ มัธยมศึกษา ต่อเนื่องอีก ๖ ปี โดย ๓ ปีแรกเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา พระพุทธศาสนา สุขศึกษา  พลศึกษา และศิลปศึกษา  แล้วเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอีก ๓ ปีโดยใน ๓ ปีหลังนี้เด็กจะเลือกเรียนสายใดสายหนึ่งใน ๓ สายตามความสนใจและความถนัดของตน  คือ สายวิทย์ สายศิลป์-คำนวณ และสายศิลป์-ภาษา      เด็กไทยจำนวนมากอาจไม่สามารถหรือไม่มีโอกาสได้เรียนต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เพราะความยากจน พ่อแม่ไม่สนับสนุน  ต้องช่วยเหลือทางบ้านทำมาหากิน เลี้ยงน้อง บ้านไกล หรือมีอุปสรรคบางประการ      สรุปว่าเด็กแต่ละคนจะใช้เวลา ๑๒ ปี
            เด็กและเยาวชนยังมีทางเลือกในระหว่างที่เรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ถ้าหากต้องการเลือกศึกษาต่อสาย
 อาชีพ เพราะต้องการออกไปประกอบอาชีพสายพาณิชย์ หรือสายช่างกลด้วยมีความถนัดและรักในงานอาชีพ  ก็สามารถ
 เลือกเรียนต่อ อาชีวศึกษา ได้  โดยสายอาชีวศึกษาได้จัดเตรียมหลักสูตรเพื่อการศึกษาอีก ๓ ปีต่อจากมัธยมศึกษาปีที่
 ๓ จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหากศึกษาในสายอาชีวศึกษาต่อเป็นเวลา ๖ ปี  จะได้รับประกาศนียบัตร
 วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าอนุปริญญา  

          ส่วนเด็กที่ตั้งเป้าหมายศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา หรือ มหาวิทยาลัย ซึ่งจะได้รับปริญญาตรีเมื่อจบการศึกษา
  ต้องจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และผ่านการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยปัจจุบันการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
         มีการเก็บผลคะแนนเฉลี่ยสะสม ๓ ปีจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๖  มารวมกับผลการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยด้วย  
              ดังนั้นช่วงที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะส่งผลถึงอนาคตของเด็กและเยาวชนคือการเรียนชั้นมัธยมศึกษา  ผู้ปกครองและครู
              จึงมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่เด็ก โดยพิจารณาความสามารถของเด็ก  เพื่อให้เด็กตัดสินใจเลือกทางเดินสู่อนาคตได้อย่าง
              สมเหตุผลและถูกทิศทาง  การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยมีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยเปิด   ซึ่ง
              ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยแบ่งเป็นคณะเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนรักและฝันอยากจะเป็นในอนาคต  เป้า 
              หมายการเป็นบัณฑิตคือ การนำความรู้คู่คุณธรรมไปประกอบสัมมาอาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ วิศวกร
              สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ นักสื่อสารมวลชน  ครู/อาจารย์ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเงินการธนาคาร นักธุรกิจ เป็นต้น
              เพื่อช่วยเหลือตัวเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติสืบไป   
              เหนือสิ่งอื่นใด การศึกษา น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คนเป็น คนที่มีคุณภาพ เพราะการศึกษาเป็นขบวนการทำ
              ให้คนมีความรู้ และมีคุณสมบัติต่างๆ ที่จะช่วยให้คนคนนั้นอยู่รอดในโลกได้ เป็นประโยชน์กับตนเอง กับครอบครัว
              ประเทศชาติ และสังคมโลกโดยส่วนรวม

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

การดูแลสุขภาพไทย

   มะกรูด พืชในตระกูลส้ม (Citrus) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก และเป็นไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะเป็นพุ่ม ตามลำต้นและกิ่งจะมีหนามยาวเล็กน้อย ใบของมันจะมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมฉุนเพราะมีต่อมน้ำมัน กลีบดอกมีสีขาว เกสรสีเหลือง ออกผลเป็นสีเขียวเข้มคล้ายมะนาว รูปร่างกลม แต่มีผิวขรุขระ มีรสเปรี้ยว ฉ่ำน้ำและมีกลิ่นหอม จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เรานิยมนำใบและผิวของผลมะกรูด มาประกอบอาหารต่าง ๆ หลายชนิด ทั้ง ต้มยำ, แกงเผ็ด, ทอดมัน ใบมะกรูดยังอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ดังนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปจึงช่วยในการต้านมะเร็งได้ด้วย แต่ประโยชน์ของมันไม่ได้มีเพียงเท่านั้น คนสมัยก่อน นำผลมะกรูดปอกเปลือก เอาไปเผาไฟ แล้วคั้นน้ำ สามารถนำมาสระผม เพื่อบำรุงรักษาเส้นผมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ เพียงแค่นำผลของมะกรูดมาผ่าครึ่ง แล้วนำมาทาหนังศีรษะ ชโลมให้ทั่วเส้นผม จะแก้ปัญหาผมร่วง ทำให้เส้นผมดกดำและหนาขึ้นได้ ด้วยเหตุที่มะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน ทั้งในใบและผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ด้วย นอกจากนั้นมะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อย ประกอบในพิธี
ใครที่สนใจปลูกพืชชนิดนี้ สามารถปลูกเป็นผักสวนครัวประจำบ้านได้ไม่ยาก โดยเตรียมดินที่ผสมปุ๋ยคอกและมะพร้าวสับจากนั้นใช้เมล็ดพันธุ์ มาปลูกลงในดินหรือไม่ก็ใช้ต้นกล้าเล็ก ๆ สัก 1-3 ต้น มาลงต่อ 1 กระถาง เสร็จแล้ว หาหลักไม้มาปักไว้ เพื่อยึดลำต้นให้ตรง เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มพร้อมตั้งให้ถูกแสงเป็นประจำ เมื่อแตกใบอ่อนก็สามารถเก็บมาใช้ หรือรอให้ออกผลก็ได้. 


    พลูคาว เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีการค้นพบว่ามีสมุนไพรชนิดหนึ่งคือพลูคาวมีฤทธิ์ สามารถสกัดยับยั้งโรคได้หลายชนิด โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากไวรัสต่าง ๆ พลูคาวหรือคาวตองหรือก้านตองเป็นพืชท้องถิ่นของหลายจังหวัดทางภาคเหนือที่ ผ่านการวิจัยทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน
    ความจริงแล้ว คุณสมบัติด้านการสกัดยับยั้งโรคร้ายต่าง ๆ ของสมุนไพรพลูคาวนั้น มีการค้นพบตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เห็นได้จากมีการระบุไว้ในคัมภีร์หมอล้านนาหรือหมอพื้นบ้านทางภาคเหนือว่า สามารถใช้พลูคาวสดรักษาแผลริดสีดวงทวารได้และใช้ต้มเป็นยาหม้อสกัดยับยั้ง อาการกำเริบของโรคร้ายจากต่อมน้ำเหลืองด้วย ต่อมาจึงมีการไปค้นคว้าต่อจนพบว่า แท้ที่จริงฤทธิ์สกัดยับยั้งโรคร้ายดังกล่าวนั้นเกิดจากจุลินทรีย์ในตระกูล “แล็คโตบาซิลัส” 2 สายพันธุ์จากจำนวนที่มีอยู่ตามธรรมชาติหลายร้อยสายพันธุ์ โดยจุลินทรีย์ทั้งสองสายพันธุ์มีคุณสมบัติพิเศษคือ มันจะกินแบคทีเรียและไวรัสทุกชนิดในร่างกาย ซึ่งเมื่อร่างกายปราศจากเชื้อโรคหรือแบคทีเรีย และไวรัสก็เท่ากับช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายทำให้ร่างกายแข็งแรงสามารถ ต้านทานโรคต่าง ๆ ได้นั่นเอง หลังจากที่ได้ผลิตสมุนไพรพลูคาวจำหน่ายเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคอย่างดีเป็นเหตุให้ต้องขยายแปลงปลูก พลูคาวที่เชียงรายเพิ่มขึ้นหลายสิบแปลง เป็นการสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นอีกด้วย
    การปลูกพลูคาวนั้น ในปีหนึ่ง ๆเกษตรกรสามารถปลูกพลูคาวได้หลายครั้งเพราะมันเป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโต ง่าย เพียงแต่คอยดูแลไม่ให้ถูกรบกวนจากวัชพืช หมั่นรดน้ำในฤดูแล้งและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เสริมในบางครั้งเท่านั้น สำหรับผลผลิตนอกจากจะส่งเข้าโรงงานผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรที่ขอนแก่นแล้ว ยังนำไปจำหน่ายที่ตลาดสดได้ด้วย เนื่องจากเป็นพืชที่ชาวเหนือทั่วไปนิยมนำมารับประทานเป็นผักสดพร้อมกับลาบ หลู้...อาหารของชาวเหนืออยู่แล้ว 


     พริก คนไทยคุ้นเคยกับรสชาติเผ็ดร้อนของพริกมานานแล้ว ซึ่งพริกถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารไทยให้จัดจ้าน และทำให้เจริญอาหาร นอกจากนี้ในพริกยังมีส่วนประกอบของสารแคปไซซินในปริมาณสูง สารตัวนี้มีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวด ช่วยระบบย่อยอาหารและพริกยังสามารถสร้างสารเคลือบกระเพาะทำให้กรดกัดกระเพาะ ได้น้อยกว่าคนที่ไม่กินพริก รสเผ็ดร้อนในพริกยังช่วยบำรุงธาตุไฟ เพิ่มการเผาผลาญ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย จะสังเกตได้ว่าเมื่อทานเข้าไปร่างกายจะอบอุ่นขึ้น และยังช่วยขับเหงื่อ บรรเทาอาการหวัด ลดน้ำมูก ช่วยให้หลอดลมขยายตัวและช่วยในระบบการไหลเวียนของเลือด
     ปัจจุบันพริกไม่เพียงมีประโยชน์ทางด้านโภชนาการเท่านั้น แต่ในด้านการแพทย์ผิวหนังและด้านความสวยความงามยังสกัดสารแคปไซซินออกมาใน รูปแบบของครีม เจลเพื่อใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง อาทิ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก งูสวัด ฯลฯ และใช้ในการนวดสลายไขมัน ลดเซลลูไลท์ ทั้งนี้เชื่อว่าจะช่วยขยายเส้นเลือดบริเวณนั้น เมื่อใช้ร่วมกับตัวยาสลายไขมันอื่นๆ ด้วย
     นอกจากนี้ในแพทย์แผนจีนยังใช้ประโยชน์จากพริกเพื่อบำรุงพลังหยาง ในช่วงที่ผู้ป่วยเป็นหวัดหรือโดนความเย็นมากระทบ โดยให้ทานอาหารรสเผ็ดร้อน อาทิ พริก พริกไทย จะช่วยบรรเทาอาการหวัด ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อจิตใจทำให้คึกคัก สดชื่น กระฉับกระเฉง เลือดลมสูบฉีด ร่างกายและจิตใจตื่นตัวมากขึ้น แต่สำหรับคนที่ธาตุไฟแกร่งควรทานพริกแต่น้อย เพราะอาจเกิดพลังหยางมากเกินไป ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นและเป็นแผลร้อนในปากได้

ต้นไม้ไทย

ต้นราชพฤกษ์
ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 9-15 เมตร มักแตกกิ่งต่ำ ลำต้น ค่อนข้างเปลาตรง เปลือก สีเทาขาว หรือน้ำตาลเทาเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดหนาในต้นขนาดใหญ่ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ แกนยาว 20-30 เซนติเมตร ใบย่อย เกลี้ยงออกตรงกันข้าม 3-8 คู่ แผ่นใบย่อย รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 7-13 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนสอบกว้างหรือเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ก้านใบย่อยยาว 5-10 เซนติเมตร หูใบขนาดเล็กหลุดร่วงง่าย  


ต้นทรงบาดาล
 ทรง บาดาลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร ทรงพุ่มมีการแตกกิ่งก้านสาขามากและแน่นทึบ ใบเป็นใบรวมออกเป็นแผงบนก้านใบ แผงใบยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ใบเรียบอยู่บนแผงเป็นคู่มีประมาณ 8-12 ใบ ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอดของลำต้น มีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีสีเหลือง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นฝักแบน ๆ ออกเป็นช่อ ฝักเป็นคลื่น คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้าน ใดปลูกต้นทรงบาดาลไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความยิ่งใหญ่ กว้างขวาง เพราะทรงบาดาลคือผู้เป็นใหญ่แห่งนาคพิภพในชั้นบาดาล และยังมีบางคนกล่าวว่าทรงบาดาลหรือทรงบันดาล คือการเกิดขึ้นแห่งพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ และยังมีความเชื่ออีกว่าจะทำให้มีทองมาก เพราะดอกทรงบาดาลสามารถออกดอกตลอดปี ลักษณะดอกขณะบานมีสีเหลือง เรืองรองดั่งทองอำไพ

ไผ่สีสุก
เป็นไม้ไผ่ประเภทมีหนาม ความยาวลำต้นสูง 10-18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา กิ่งมากแตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ   3 กิ่ง กิ่งที่อยู่ตรงกลางจะยาวที่สุด ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน 5-6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มกว้าง ๆ หรือตัดตรง   แผ่นใบกว้าง 0.8-2 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ใต้ใบมีสีเขียว   อมเหลือง เส้นลายใบมี 5-9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสากคลีบใบเล็กมีขน 
ต้นทองหลาง
ต้น ทองหลาง นับว่าเป็นพืชที่มีต้นโต เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งถือว่าเป็นต้นไม้ขนาดกลาง ลักษณะของใบมน คล้ายกับใบของถั่วพู ใบโตราว 3-4 นิ้ว ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ ที่ลำต้นและกิ่งก้านจะมี
หนาม เล็ก ๆ แหลมคมตลอด ดอกของทองหลางน้ำคล้ายดอกแคแดงต้นทองหลางน้ำสามารถดูดเอาน้ำมา เก็บไว้ในลำต้นได้มากกว่าต้นไม้ชนิดอื่น สามารถทำให้พื้นดินมีความชุ่มชื้น ได้โดยตลอด เราจึงเห็นในสวนทั่วไปมีต้นทองหลางน้ำเสมอ เพราะชาวสวนเข้าใจในเรื่องนี้ดีนั่นเองพืชชนิดอื่นจะได้ประโยชน์จากต้น ทองหลางได้รสและสรรพคุณยา เอา เปลือกทองหลางมาต้ม ดื่มแก้เสมหะมากก็ได้การต้มจะเอาใบมาต้มด้วยก็ได้ นอกจากนี้ยังแก้ลมพิษก็ได้ เอามาหยอดตาแก้ตาแดง ตาเจ็บ ตาแฉะ ก็ได้อีกแต่จะต้องระวังเรื่องความสะอาดเอาไว้ให้มาก
ต้นขนุน 
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตรลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผล จะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน  ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยงผลเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ 
ต้นสัก
ไม้ต้นขนาด ใหญ่ผลัดใบ สูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป ลำต้นเปลาตรง โคนมักเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่ม ทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามความยาวลำต้น เปลือกในสีเขียวอ่อนใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายแหลมโคนมน ยาว 25-30 เซนติเมตร กว้าง 20-30 เซนติเมตร ใบของต้นอ่อน จะใหญ่กว่านี้มาก เนื้อใบสากคายสีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนกว่า มีต่อมเล็ก ๆ สีแดง ขยี้ใบจะมีสีแดงเหมือนเลือด ดอกขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่กระจายตามปลายกิ่ง ผลแห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1 - 3 เมล็ด
ต้นชัยพฤกษ์ 
ความ สูงประมาณ 15 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล ทรงพุ่มใบกลมคล้ายร่ม เมื่อต้นยังอ่อน มีหนาม ใบประกอบจะเป็นรูปขนนกปลายคู่เรียงสลับ มีใบย่อย 5-15 คู่ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปรี หรือรูปขอบขนานขนาดกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบกลม ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียด ดอก เริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ใกล้โรยดอกจะมีสีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่งยาว 5-16 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ดอกเส้นผ่าศูนย์กลาง   3.5 เซนติเมตร ผลเป็นฝักกลมสีดำ ยาว 20-60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อแก่ไม่แตกมีเมล็ดจำนวนมาก
ต้นกันเกรา 
ไม้ต้นขนาด กลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบ เดี่ยวออกตรงกันข้าม   แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  6 มม. สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็น จำนวนมาก
ต้นพะยูง 
เป็นไม้ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ ใบ เป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7-9 ใบ ขนาดกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1-4 เมล็ด

เครื่องประดับไทย


ทองโบราณ หรือ ทองศรีสัชนาลัยเป็นงาน ศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านตำบลท่าชัยและ ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ที่บรรจงทำทองรูปพรรณเลียนแบบอย่างเครื่องทองสมัยโบราณได้อย่างสวยงาม จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของชาวไทยและชาวต่างชาติ เริ่มแรกทองโบราณเกิดขึ้นมาจากความคิดของช่างทองตระกูล “วงศ์ใหญ่” โดยมีนายเชื้อ วงศ์ใหญ่ อยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย มีอาชีพทำทองและรับซื้อทองเก่าหรือวัตถุโบราณ ทำให้มีโอกาสเห็นเครื่องทองรูปพรรณแบบโบราณต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก วันหนึ่งมีผู้นำสร้อยโบราณที่ได้จากริมฝั่งแม่น้ำยมมาให้ดู จึงเกิดความคิดที่จะทำสร้อยลายแบบนี้มาก สร้อยที่เห็นนั้นเป็นสร้อยที่ทำด้วยสัมฤทธิ์ถักสานเป็นสร้อยสี่เสา จึงได้แกะลายออกมาศึกษา แกะออกมาทีละปล้อง ทีละข้อ ใช้ลวดทองแดงถักร้อยตามรูปแบบเดิม แต่ไม่สำเร็จจึงตัดสินใจไปหาชาวบ้านที่มีอาชีพถักสานกระบุง ตะกร้าให้มีลวดลายมาลองถัก หลังจากนั้นจึงได้ใช้ทองคำที่ป็นเนื้อทองสมัยใหม่มาถักสาน เรียกว่า สร้อยสี่เสา นับเป็นสร้อยเส้นแรกที่เลียนแบบโบราณได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็ได้ผลิตนำออกจำหน่ายที่ร้านขายของเก่าในจังหวัดเชียงใหม่ และร้านขายทองในตลาดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร ทำให้ทองโบราณเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างสูง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
การทำทองโบราณที่อำเภอศรีสัชนาลัยนั้นเป็นงานฝีมือทุกขั้นตอน รูปแบบที่นำมาผลิตได้จากรูปแบบเครื่องทองโบราณ ลวดลายประติมากรรม ลายปูนปั้น จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดจนเครื่องทองโบราณจากแหล่งอื่น ๆ มาประมวลกันและมีการพัฒนาตกแต่งในการลงยา คือ การตกแต่งเครื่องทองให้มีสีสันสวยงาม โดยใช้หินสีบดให้เป็นผงละเอียดคล้ายทรายแก้ว นำไปแต่งหรือทาบนเครื่องทอง แล้วเป่าไฟให้เนื้อทรายหลอมติดกับเนื้อทองเป็นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น รูปแบบทองโบราณศรีสัชนาลัยจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างเด่นชัด 

sukhotai-silver1เครื่องเงินโบราณเพิ่ง ถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2537 โดยคุณเตือนใจ เบาบาง จากความคิดที่ลองนำเครื่องเงินที่ช่างหัดทำทองระยะแรกทำขึ้นมาทดลองขาย ซึ่งเป็นที่นิยมและต้องการของตลาดมาก คุณเตือนใจจึงเปิดร้านทำเครื่องเงินเองเป็นร้านแรกชื่อ ร้าน ลำตัดเครื่องเงินโบราณ รับพนักงานเพิ่มขึ้นและพัฒนารูปแบบเหมือนกับรูปแบบทองโบราณ ปัจจุบันมีร้านทำเครื่องเงินโบราณมากขึ้น นับว่าเป็นความคิดริเริ่มที่กล้าหาญและช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอำเภอศรี สัชนาลัยอีกทางหนึ่งเครื่องเงิน,ทองโบราณเป็นงานหัตถกรรมที่ประณีต งดงามและมีคุณค่าสูงยิ่งควรแก่การส่งเสริมให้คงไว้ตลอดไป

ชุดไทย

   แต่งกายแบบไทยของสตรีไดรับการฟื้นฟูอีก ครั้งพระราชนิยมของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงปรับปรุงแบบของชุดไทยให้ดูสง่างาม เหมาะกับการใช้งานในยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งชุดไทยเหล่านี้เรียกรวมๆว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" ซึ่งถูกเผยแพร่ออกไปทั้วโลก จนเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของภาพลักษณ์แห่งความเป็นไทย
ชุด ไทยพระราชนิยมแบ่งออกเป็นแบบต่างๆดังนี้ คือ ชุดไทยเรือนต้น, ชุดไทยจิตรลดา, ชุดไทยอมรินทร์, ชุดไทยบรมพิมาน, ชุดไทยจักรี, ชุดไทยจักรพรรดิ, ชุดไทยดุสิต, ชุดไทยศิวาลัย, ชุดไทยประยุกต์


ชุดไทยเรือนต้น


                                      


            เสื้อ แขน กระบอก นุ่งกับ ผ้าซิ่น ทอลาย ขวาง ใช้ได้ ในหลาย โอกาส เช่น เป็น ชุดเช้า ไว้ใส่ บาตร ไปวัด หรือ ไปงาน มงคล ต่าง ๆ ชุดไทยเรือนต้น คือ ชุดไทยแบบลำลอง ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมีลายริ้วตามขวางหรือตามยาว หรือใช้ผ้าเกลี้ยงมีเชิงตัวซิ่นยาวจรดข้อเท้าป้ายหน้า เสื้อใช้ผ้าสีตามริ้วหรือเชิงสีจะตัดกับซิ่นหรือเป็นสีเดียวกันก็ได้เสื้อคน ละท่อนกับซิ่น แขนสามสวนกว้างพอสบาย ผ่าอก ดุมห้าเม็ด คอกลมตื้น ๆ ไม่มีขอบตั้ง เหมาะไช้แต่งไปในงานที่ไม่เป็นพิธีและต้องการความสบายเช่น ไปงานกฐินต้นหรือเที่ยวเรือ เที่ยวน้ำตก



                           ชุดไทยจิตรลดา                                    
 
                                                  
                                                                             
ชุดไทยจิตรลดา คือ ชุดไทยพิธีก ลางวัน ใช้ผ้าไหมเกลี้ยงมีเชิงหรือ เป็นยกดอกหรือตัวก็ได้ ตัดแบบเสื้อกับซิ่น ซิ่น ยาวป้ายหน้าอย่างแบบลำลอง เสื้อแขนยาว ผ่าอก คอกลม มีขอบตั้งน้อย ๆ ใช้ในงานที่ผู้ชายแต่งแต็มยศ เช่น รับประมุขที่มาเยือนอย่างเป็นทางการที่สนามบิน ผู้แต่งไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่เนื้อผ้าควรงดงามให้เหมาะสมโอกาส


                                                                 ชุดไทยอมรินทร์
                                             ชุดไทยอมรินทร์ คือ ชุดพิธีตอนค่ำ ใช้ยกไหมที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว เสื้อกับซิ่นแบบนี้อนุโลมให้ สำหรับผู้ไม่ประสงค์คาดเข็มขัด ผู้มีอายุจะใช้คอกลมกว้าง ๆ ไม่มีขอบตั้งและแขนสามส่วนก็ได้ เพราะความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้า และเครื่องประดับที่จะใช้ให้เหมาะสมกับงานเลี้ยงรับรอง ไปดูละครในตอนค่ำและเฉพาะในงานพระราชพิธีสวนสนามในวันเฉลิมพระชนมพรรษาผู้ แต่งชุดไทยอมรินทร์ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์




ชุดไทยบรมพิมาน                                                              

                                                         
                                
                                                              


เสื้อ เข้ารูป แขน กระบอก คอตั้ง ติดคอ ผ่าหลัง อาจจะ เย็บติด กับ ผ้านุ่ง ก็ได้ หรือ แยกเป็น คนละ ท่อน ก็ได้ เช่นกัน ส่วน ผ้านุ่ง ใช้ ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง ตัดแบบ หน้านาง มีชายพก สำหรับ แต่งใน งาน ราชพิธี หรือ ในงาน เต็มยศ หรือ ครึ่งยศ เช่น       งานฉลอง สมรส พิธีหลั่ง น้ำ พระ พุทธมนต์ 

ชุดไทยบรมพิมาน คือ ชุดไทยพิธีตอนค่ำที่ใช้เข็มขัดใช้ผ้าไหมยกดอกหรือยกทองมีเชิงหรือยกทั้งตัว ก็ได้ ตัวเสื้อและซิ่นตัดแบบติดกัน ซิ่นมีจีบข้างหน้าและมีชายพก ใช้เข็มขัดไทยคาดตัวเสื้อแขนยาว คอกลม มีขอบตั้ง ผ่าด้านหลัง หรือด้านหน้าก็ได้ ผ้าจีบยาวจรดข้อเท้า แบบนี้เหมาะสำหรับผู้มีรูปร่างสูงบาง สำหรับใช้ในงานเต็มยศและครึ่งยศ เช่นงานอุทยานสโมสรหรืองานพระราชทานเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการในคืนที่มี อากาศเย็น ใช้เครื่องประดับสวยงามตามสมควรผู้แต่งประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ชุดไทยจักรี

                                            


เสื้อ ตัวในไม่มีแขน ไม่มีคอ ห่มทับด้วยสไบ แบบมีชายเดียว ปักดิ้นทอง ชุดไทยจักรี เดิมจะไม่ปัก นุ่งทับด้วยผ้าซิ่นไหม ยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับ สร้อยคอ รัดแขน สร้อยข้อมือ สำหรับ แต่งในงาน เลี้ยงฉลองสมรส หรือ ราตรีสโมสรที่ไม่เป็นทางการ



ชุด ไทยจักรี คือชุดไทยประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน

                          ชุดไทยจักรพรรดิ

                    


      ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง มีเชิง สีทอง ตัดแบบ หน้านาง มี ชายพก ห่มด้วย สไบ ปัก ลูกปัด สีทอง เป็นเครื่อง แต่งกาย สตรี สูงศักดิ์ สมัย โบราณ ปัจจุบัน ใช้เป็น เครื่อง แต่งกาย ชุด กลางคืน ที่ หรูหรา หรือ เจ้าสาว ใช้ใน งาน ฉลอง สมรส ยามค่ำ เครื่อง ประดับ ที่ใช้ รัดเกล้า ต่างหู สร้อยคอ สังวาลย์ สร้อยข้อมือ ชุด ไทยจักรพรรดิ คือ ชุดไทยห่มสไบคล้ายไทยจักรี แต่ว่ามีลักษณะเป็นพิธีรีตรองมากกว่า ท่อนบนมีสไบจีบรองสไบทึบ ปักเต็มยศบนสไบชั้นนอก ตกแต่งด้วยเครื่องประดับอย่างสวยงาม ใช้สวมในพระราชพิธีหรืองานพิธีต่าง ๆ ที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติ
                            ชุดไทยดุสิต 

                                          



เสื้อ คอกลม กว้าง ไม่มีแขน เข้ารูป ปักแต่ง ลายไทย ด้วย ลูกปัด ใช้กับ ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง ลาย ดอกพิกุล ตัดแบบ หน้านาง มี ชายพก ใช้ใน งาน ราตรี สโมสร หรือ เป็นชุด ฉลอง สมรส เครื่อง ประดับ ที่ใช้ ต่างหู สร้อยคอ แหวน ชุดไทยดุสิต คือ ชุดไทยคอกว้าง ไม่มีแขนใช้ในงานกลางคืนแทนชุดราตรีแบบตะวันตก ตัวเสื้ออาจปักหรือตกแต่งให้เหมาะสม กับงานกลางคืน ตัวเสื้ออาจเย็บติดหรือแยกคนละท่อนกับซิ่นก็ได้ ซิ่นใช้ผ้ายกเงินหรือทองจีบชายพก ผู้แต่งอาจใช้เครื่องประดับแบบไทยหรือตะวันตกตามควรแก่โอกาส                             ชุดไทยศิวาลัย

                       



เสื้อ ตัวในไม่มีแขน ไม่มีคอ ห่มทับด้วยสไบ แบบมีชายเดียว ทิ้งชายสไบยาวด้านหลัง ปักด้วยลูกปัดทอง นุ่งทับด้วยผ้าซิ่นไหม ยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับ สร้อยคอ รัดแขน สร้อยข้อมือ เป็นเครื่องแต่งกาย ของสตรี บรรดาศักดิ์ ปัจจุบันใช้ในงาน เลี้ยงฉลอง สมรส หรือเลี้ยงอาหารค่ำ ชุดไทยศิวาลัย มีลักษณะเหมือนชุดไทยบรมพิมานแต่ว่า ห่มสไบ ปักทับเสื้ออีกชั้นหนึ่งใช้ในงานพระราชพิธี หรืองานพิธีเต็มยศเหมาะแก่การใช้แต่งช่วงที่มีอากาศเย็น


วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้าวไทย

ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมพวงนาค 16 / ซิกาดิส
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พวงนาค 16 ของไทยกับพันธุ์ซิกาดิส ของอินโดนีเซีย ได้ผสมพันธุ์และคัดพันธุ์แบบสืบตระกูลที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ.2508 จนได้สายพันธุ์ BKN6517-9-2-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้าต้นสูง สูงประมาณ 145 เซนติเมตรเป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงเล็กน้อย เหมาะที่จะปลูกเป็นข้าวนาปี ถ้าปลูกตามฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวได้ปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ถ้าปลูกในฤดูนาปรังหรือไม่ปลูกตามฤดูกาล อายุจะอยู่ระหว่าง 140-160 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเดือนที่ลำต้นสีม่วง มีรวงยาว ต้นแข็งไม่ล้มง่ายปลูกระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางก้นจุดท้องไข่น้อยชื่อพันธุ์กำผาย 15 (Gam Pai 15)
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตรอำเภอ จากอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 99 รวง และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวพาน และสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ระหว่าง พ.ศ.2500-2505 คัดเลือกได้สายพันธุ์ กำผาย 30-12-15
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ุ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียวต้นสูง สูงประมาณ 168 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.8 x 7.2 x 2.0 มิลลิเมตร
ชื่อพันธุ์เหนียวอุบล 2 ( Niaw Ubon 2 )
ชนิดข้าวเหนียว
คู่ผสม SPT7149-429-3 / IR21848-65-3-2
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ SPT7149-429-3 และIR21848-65-3-2 ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีจนได้ สายพันธุ์ IR43070-UBN-501-2-1-1-1
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2541
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว สูงประมาณ 118 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 15 พฤศจิกายนทรงกอแผ่ ต้นแข็ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสี เขียว ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้นเมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตร

เที่ยวภูเก็ต

       ภูเก็ต ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในด้านความสวยงามของทิวทัศน์ และหาดทราย น้ำทะเลสีฟ้าใส พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวครบครัน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 48.7 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร ภูเก็ตแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้
อ่าวกะรน
อยู่ถัดจากอ่าวกะตะขึ้นไปทางเหนือมีเพียงเนินเขาเตี้ยๆ คั่นอยู่เท่านั้น แต่ถ้าจะไปที่กลางอ่าวกะรนและหมู่บ้านกะรน มีถนนแยกจากอ่าวกะตะไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร อ่าวกะรนใหญ่กว่าอ่าวกะตะ มีชายหาดยาวเหยียด เหนือชายหาดเป็นเนินทรายสูงๆ ต่ำๆ มีสนทะเลต้นใหญ่ๆ และต้นตาลขึ้นเรียงรายอยู่โดยทั่วไป หาดทรายที่อ่าวกะรนขาวสะอาดและละเอียดมาก

อ่าวกะตะอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 17 กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตเมื่อถึงห้าแยกฉลองเลี้ยวขวาไปตามทางตามถนนหมายเลข 4028 อ่าวกะตะแบ่งออกเป็น 2 อ่าวคือ อ่าวกะตะใหญ่ กับอ่าวกะตะน้อย ทั้งสองอ่าวมีหาดทรายและชายหาดที่สวยงามเหมาะแก่การเล่นน้ำ และใช้เป็นที่ฝึกดำน้ำ เนื่องจากมีแนวปะการังติดต่อกันไปจนถึงเกาะปูซึ่งอยู่ด้านหน้าหาดกะตะ ปัจจุบันหาดกะตะ เป็นหาดหนึ่งที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ สถานที่พัก บริษัทนำเที่ยว ร้านค้า แหล่งบันเทิงต่างๆ ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
เกาะแก้ว
อยู่ห่างจากหาดราไวประมาณ 3 กิโลเมตร นั่งเรือจากหาดราไวประมาณ 30 นาที มีหาดทรายและธรรมชาติใต้น้ำสวยงามมาก บนเกาะมีรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่ด้วย

เกาะสิเหร่
เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต อยู่ห่างจากตัวเมืองรวม 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันนี้ถือเป็นพื้นที่อันเดียวกับเกาะภูเก็ต มีคลองเล็กๆ ชื่อคลองท่าจีนคั่นเท่านั้น ประชากรที่เกาะสิเหร่นี้ส่วนหนึ่งเป็นชาวเล หรือชาวน้ำ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในจำนวนชาวเลที่อาศัยอยู่ในเกาะภูเก็ต เกาะสิเหร่ เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์มีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่อยู่บนยอดเขา ชายหาดไม่เหมาะสำหรับการการเล่นน้ำ พื้นทรายมีโคลนปน

หาดแหลมกาใหญ่
เป็นหาดเล็กๆ ห่างจากตัวเมือง 16 กิโลเมตร จากห้าแยกฉลอง ใช้ทางหลวง 4024 ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสว่างอารมณ์ บริเวณหาดมีเรือให้เช่าไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะเฮ เกาะบอน เป็นต้น

หาดราไว
อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 17 กิโลเมตร เส้นทางจาห้าแยกฉลองไปสู่หาดราไว (ทางหลวง 4024) เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดสายหนึ่งของภูเก็ต หาดราไว เป็นหาดที่สวยงามและมีชาวเลอาศัยอยู่

หาดสุรินทร์
อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 24 กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตใช้เส้นทาง 402 เมื่อถึงอนุสาวรีย์วีรสตรีแล้วไปทางซ้ายมืออีก 12 กิโลเมตร เป็นหาดที่อยู่ริมเชิงเขา บริเวณเหนือหาดมีต้นสนทะเลต้นใหญ่ๆ อยู่เรียงราย และบริเวณเหนือหาดด้านขวามือเป็นสนามกอล์ฟ หาดสุรินทร์ชายหาดไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะมีลักษณะลาดชัน และในฤดูมรสุมจะมีคลื่นลมจัดมาก

อ่าวป่าตอง
ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนวิชิตสงคราม หรือ ทางหลวง 4020 ไป 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวง 4029 ไปอีก 6 กิโลเมตร เป็นอ่าวที่มีความโค้งมาก หาดทรายงดงามเป็นแนวยาว 9 กิโลเมตร น้ำทะเลใสสะอาด เหมาะแก่การเล่นน้ำมากที่สุด

สมุนไพรไทย


พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ  และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
          ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด

         ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า  " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
          บทความข้าต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ
          จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..

ส้มตำ

คนมักเข้าใจกันผิดว่าส้มตำเป็นอาหารพื้นเมืองของภาคอีสานหรือของลาว แท้จริงแล้วส้มตำเป็นอาหารสมัยใหม่ถือกำเนิดมาราว 40 ปีเท่านั้น เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่นำเข้ามาจากเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งในตอนนั้นรัฐบาลไทยให้สหรัฐอเมริกา เข้ามาตั้งฐานทัพ และตัดถนนมิตรภาพเพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ไปยังพื้นที่สู้รบ พร้อมกันนั้นได้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอไปปลูกสองข้างทางของถนนมิตรภาพ มะละกอจึงเผยแพร่ไปสู่ภาคอีสาน เปิดโอกาสให้ชาวอีสานได้ประดิษฐ์ส้มตำขึ้น
        ส้มตำ เป็นอาหารที่คนอีสานชอบและกิน กินกับข้าวเหนียวหรือกินเล่นๆ ก็ได้ คนภาคอีสานและภาคเหนือเรียกว่า ตำส้ม การทำส้มตำทำง่ายๆ คือ นำมะละกอที่แก่จัดมาปลอกเปลือกออก ล้างเอายางออกให้สะอาดแล้วสับไปตามทางยาวของลูกมะละกอ สับได้ที่แล้วก็ซอยออกเป็นชิ้นบางๆ จะได้มะละกอเป็นเส้นเล็กๆ ปลายเรียว เมื่อได้ปริมาณมากตามต้องการแล้ว ต่อไปก็เตรียม พริก กระเทียม มะนาว น้ำปลา ถ้าเป็นส้มตำแบบอีสานแท้นั้นใช้น้ำปลาร้าแทนน้ำปลาหรือจะใช้ทั้งสองอย่าง
        เมื่อเตรียมทุกอย่างครบแล้วก็นำ พริก กระเทียมมาใส่ลงในครก ใช้สากตำละเอียดพอประมาณ ใส่มะละกอที่ซอยไว้แล้วลงไป ตำให้พริก กระเทียม มะละกอคลุกเคล้ากันให้เข้ากันดี หากเตรียมมะเขือเทศและถั่วฝักยาวมาด้วยก็จะฝานผสมลงไป เติมมะนาว น้ำปลาร้า และน้ำปลา ตำคลุกเคล้ากันดีแล้ว ตักชิมรสดู เติมเปรี้ยวหรือเค็มตามต้องการ แล้วตักใส่จาน กินกับข้าวเหนียวได้พร้อมกับกับข้าวอย่างอื่น คนอีสานกินส้มตำเป็นกับข้าวได้ทุกมื้อ
        ต่อมาตำส้มของชาวอีสานแพร่หลายลงมาภาคกลาง อาจเนื่องมาจากชาวอีสานมาทำงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ตำส้มแบบอีสานก็แพร่หลายในกรุงเทพและส่วนอื่นๆของประเทศไทย โดยเฉพาะร้านข้าวเหนียวส้มตำจะแพร่หลายอยู่ตามกลุ่มคนงานชาวอีสาน
        นอกจากส้มตำก็จะมีไก่ย่าง ปลาดุกย่างและอาหารอื่นๆด้วย ส้มตำเลยเป็นที่นิยมแพร่หลาย การทำส้มตำจึงมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับคนภาคกลาง เช่น เพิ่มน้ำตาลให้มีรสหวาน เพิ่มถั่วลิสงคั่ว และกุ้งแห้ง ตัดปลาร้าออกใช้แต่น้ำปลาเป็นต้น ส้มตำ หรือ ตำส้มจึงมีรสดั้งเดิมแบบอีสาน หรือแบบภาคกลาง เรียกว่า ตำไทย ซึ่งออกรสหวาน ยิ่งกว่านั้นยังมีการเพิ่มปูดองเข้าไปอีกเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น
        ตำส้มของชาวอีสาน ไม่เฉพาะแต่มะละกอเท่านั้น ผลไม้อย่างอื่นที่ยังไม่สุกก็นำมาทำเป็นตำส้มได้ เช่นขนุนอ่อน มะม่วง มะยม เป็นต้น ปัจจุบัน ส้มตำมิใช่แพร่หลายเฉพาะในหมู่คนไทยเท่านั้น ส้มตำแพร่หลายออกไปจนกลายเป็นอาหารที่นานาชาติรู้จักและเป็นอาหารจานโปรดของนักท่องเที่ยวที่โรงแรมชั้นหนึ่งทุกแห่ง ที่สำคัญ ทหารอเมริกันที่มารบกับเวียดนาม มาประจำที่ฐานทัพในประเทศไทย ต่างก็ติดใจตำส้มอีสาน นำไปเผยแพร่ที่อเมริกาจนรู้จักกันไปทั่วโลกทีเดียว

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

ดอกไม้ไทย

 


ดอกไม้กับมนุษย์มีความเกี่ยวเนื่องกันมาโดยตลอด สำหรับคนไทยดอกไม้มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่มาก ทั้งด้านศาสนา พิธีการต่างๆ เพื่อการสักการะบูชาสิ่งที่ตนเคารพ รวมทั้งการนำดอกไม้มาประดับตกแต่งภายในบ้าน สร้างบรรยากาศที่น่าอยู่ สบายใจ ความสดชื่น และความประทับใจต่อผู้มาเยือน รวมทั้งมีการนำดอกไม้ไปผสานกับวรรณกรรมต่างๆ จนขาดเสียมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการชมพฤกษา การเปรียบเปรยตัวละครเอกด้วยชื่อดอกไม้ที่น่าทนุทะนอม
ประเทศไทยที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์อันเหมาะในการเพาะปลูก ส่งผลให้มีพันธุ์ดอกไม้ต่างๆ มากมาย แต่อย่างไรก็ตามคนไทยในปัจจุบันนับว่าห่างจากธรรมชาติมาขึ้น เด็กไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้จักชื่อ หรือพันธุ์ดอกไม้ที่เปรียบเสมือนวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทย เนื้อหาในส่วนนี้ ขอนำเสนอดอกไม้ไทย ที่ควรค่าต่อการศึกษากับทุกคนตลอดไป
          การสร้างบรรยากาศรอบบ้านให้รื่นรมย์ด้วยไม้ดอกหอม กลับมาถึงบ้านคราใดก็จะสุขใจด้วยกลิ่นหอมของดอกไม้นานาพรรณที่ปลูกไว้ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกลงแปลงในสวนหย่อมหน้าบ้าน ข้างบ้าน ปลูกใส่กระถาง ปลูกให้เลื้อยบนซุ้มหน้าบ้าน ไม่ว่าจะปลูกแบบใด ไม่ว่าจะมีพื้นที่มากน้อยเพียงใดก็สามารถปลูกได้ บ้านเรามีพรรณไม้ดอกหอมมากมายให้เลือกปลูก ทั้งชนิดไม้ทรงพุ่มเล็กที่ปลูกลงแปลง หรือปลูกเป็นไม้กระถาง ชนิดไม้เลื้อย ชนิดไม้ยืนต้นใหญ่ มากมายหลายชนิดให้เลือกปลูกตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และตามความชื่นชอบของผู้ปลูก ไม้ดอกหอมแต่ละชนิดพันธุ์มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของกลิ่นหอม หอมมากหอมน้อย บางชนิดหอมจนเวียนหัว บางชนิดหอมกลางวัน บางชนิดหอมกลางคืน บางชนิดหอมทั้งวันทั้งคืน บางชนิดหอมแต่ไม่สวย บางชนิดสวยแต่ไม่ค่อยหอม หมายถึงว่าหอมนิดๆ ถ้าหากเรามีพื้นที่หน้าบ้านหรือข้างบ้านพอที่จะปลูกต้นไม้ได้ และรู้จักเลือกชนิดที่จะปลูกก็จะทำให้บรรยากาศรอบๆ บ้านเราหอมทั้งวันหอมทั้งคืน บ้านก็จะเหมือนสวรรค์ดีๆ นี่เอง มีพื้นที่มากก็ปลูกได้มากหลากหลายชนิด มีพื้นที่น้อยก็ปลูกน้อย ไม่มีพื้นที่เลยก็ยังปลูกใส่กระถางตั้งไว้หน้าระเบียงได้ แต่ถ้าอยากได้กลิ่นหอมแต่ขี้เกียจปลูกก็ไปซื้อน้ำหอมมาฉีดพ่นในห้องก็ได้ไม่ต้องอบ อ้าว...

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

ผ้าไหมไทย

   ในอดีตไหมไทยไม่ที่รู้จักแพร่หลายในตลาดโลกมากนัก แม้กระทั่งคนไทยยังไม่นิยมนำผ้าไหมมาตัด เย็บเสื้อผ้า เพราะผ้าไหมถูกตีกรอบให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใหญ่เท่านั้น จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อจิม ทอมสัน ชาวอเมริกันฟื้นฟูอุตสาหกรรมไหมไทย ขึ้นมาใหม่ทำให้ผ้าไหมขึ้นมาใหม่ทำให้ผ้าไหมไทยเป็น ที่รู้จักของโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น
         ประกอบกับที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริ ในการก่อตั้งศูนย์ศิลปาชีพ เพื่อส่งเสริมงานฝีมือภูมิปัญญาไทย ผ้าไหม "มัดหมี่" จึงเป็นศิลปะอีก แขนง หนึ่งที่ทรงให้ความสำคัญ และได้รับส่งเสริมพัฒนาในทุกขั้นตอนการผลิต ทรงส่งเสริมให้มีผลิตออก มาหลายๆ รูปแบบทั้งแบบผืนยาวเรียบลายแถบ ยกดอก ภาพพิมพ์สมเด็จฯท่านทรงเป็นแบบอย่างในการ เผยแพร่ชื่อเสียงของผ้าไหมไทยโดยการที่ทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมไทย ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศหรือ เสด็จต่างประเทศก็ตาม
         ผ้าไหมมัดหมี่นอกจากจะมีลวดลายที่สวยงาม แล้วยังมีความทนทานสามารถสวมใส่ได้หลายปี หาก รู้จักวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ปัจจุบันดีไซเนอร์ชั้นนำทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมนำผ้าไหมทั้งผ้าพื้น และผ้ามัดหมี่ไปตัดเย็บ จัดแสดงแฟชั่นโชว์คอลเลคชั่นผ้าไหมให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งผ้าไหม 2 เส้น นิยมตัดชุดสำหรับสุภาพสตรี ส่วนของผ้าไหม 4 เส้น นำมาตัดเป็นเสื้อพระราชทาน สำหรับสุภาพบุรุษหรือตัด ชุดสูทเป็นการออกแบบผสมผสานความงามของผ้าไหมไทยกับการตัดเย็บอย่างประณีตใน รูปแบบสากล เพื่อช่วยเสริมให้บุคลิกของผู้สวมใส่ดูสวยงามไม่ล้าสมัย เหมาะสมกับคนทุกวัยและทุกโอกาส จากการเริ่ม ต้นแค่ภูมิปัญญาของชาวชนบทในภาคอีสานของไทย เดี๋ยวนี้ผ้าไหมไทยกลายเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกไปแล้ว...
 ผ้าไหม เป็นผ้าที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ทำเป็นเสื้อผ้า ผ้าไหม ผลิตมาจากตัวหม่อน ชาวบ้านมักชอบเรียกการปลูกหม่อน และการทำผ้าไหมว่า "การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม" ผ้าไหมมีลวดลายมากมายและสวยงาม



ผลไม้ไทย








ของดีของเมืองไทยนั้นมีอยู่มากมาย โดยเฉพาะผลไม้ไทย ที่ให้ทั้งประโยชน์ และคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกาย ในผลไม้แต่ละชนิดต่างมีรสชาติ กลิ่น และรูปร่างที่แตกต่างกัน ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดก็จะใช้สารอาหาร แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ และเส้นใยอาหาร เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย หากต้องการรับประโยชน์จากผลไม้อย่างเต็มที่ ... ควรรับประทานผลไม้สด และไม่ทิ้งไว้นาน หลังการปอก หรือหั่น หากเป็ยผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหาร หรือนำมาเป็นขนมอบ จะทำให้ปริมาณสารอาหารลดลงได้ และถ้าจะให้ดี ต้องทานผลไม้ตามฤดูกาล เพราะผลไม้ในฤดูนั้นๆ จะออกดอกออกผลตามธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ง่าย และมีราคาถูก  
กล้วย ... เป็นผลไม้ที่สามารถหากินกันได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยหักมุก หรือกล้วยไข่ นอกจากนี้จะมีรสชาติหอมหวานแล้ว ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรตสูง และมีเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย อีกเป็นจำนวนมาก
แตงโม ... เป็นผลไม้ที่สมาคมโรคหัวใจในอเมริกายอมรับว่า แตงโมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะมีน้ำอยู่ถึงร้อยละ 92 ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ มีปริมาณ Glutathione มหาศาล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มี Lycopene มาก และสามารถป้องกันโรคมะเร็งที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณช่วยลดความร้อนภายในร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการของโรคไข้หวัด หรือเจ็บคอ ช่วยลดความดันโลหิต และยังช่วยในการซับน้ำปัสสาวะได้ดี
  มะพร้าว ... ผลไม้ที่เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงบรรยากาศชายทะเล ด้วยกลิ่นหอมอ่อน และรสชาติหวานของน้ำมะพร้าวที่ มีฤทธิ์ในการลดความร้อน ดับกระหาย ลดอาการอ่อนเพลีย และใช้ในการขับพยาธิชนิดต่างๆ ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพยาธิใบไม้ พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด เป็นต้น และในเนื้อของมะพร้าวยังมีคุณสมบัติในการบำรุงร่างกาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้อีกด้วย
... มังคุด ...

   มังคุด ... สรรพคุณทางยา ช่วยให้มีการระบายอย่างอ่อน ในกรณีที่เกิดอาการท้องผูกได้
    ข้อควรระวัง หากกินมังคุดมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเดินได้ฃ

อักษรไทย







         อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่นๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ
อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง



        อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว และ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด